1/24/2555

- 5 โรคร้ายในนก ที่คนเลี้ยงนกควรรู้


ไชยรัตน์ เบิร์ดฟาร์ม

40/28 ซ.อนามัยงามเจริญ33 แยก5 ถ.พระราม2
แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม. 10150
โทร.081- 4076591 ,087-5552545



Chairat_Birdfarm@hotmail.com 
www.facebook.com/chairat.birdfarm
Line official : @chairatbirdfarm
Line ID : 0875552545



1. แคงเกอร์ CANKER
พบ ในลำคอและปลายลิ้น เป็นตุ่มเม็ดสีขาวถ้าเป็นหลายวันจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ลักษณะของตุ่มจะติดอยู่ในลำคอเพดานช่องปากและปลายลิ้นจะมีราก โรคนี้เกิดจากเชื้อรา trichomonosis ที่เกิดจากความชื้นและกรงอับ อาหารที่สกปรก อาการของโรคจะยืนซึมไม่กินข้าว จมูกและปากจะแฉะ ยืนหงอย อ้าปากหายใจบางครั้ง ตาจะอักเสบ(แฉะ) ยาที่ใช้รักษาดีที่สุดคือ ronidazole 10% แต่เป็นที่น่าเสียดายทางการได้สั่งห้ามนำเข้าเพราะมีผู้นำไปใช้กับ ไก่และกุ้ง จนกลายเป็นสารตกค้างอยู่ในเนื้อที่ทาง E.U. ห้ามนำเข้า

2. ระบบทางเดินหายใจrespirayory tract ซึ่งเรียกง่ายๆว่า ติดเชื้อในช่องปาก เช่น โรคหวัด แต่โรคหวัดนี้ยังแตกออกเป็นหลายโรค เช่น ornithosis psittacosis อาการที่พบ จมูกแฉะ น้ำตาไหล หายใจหอบ ขนหัวลุก หัวบวม mycoplama เชื้อโรคจะอยู่ในหลอดลม กระบังลม ขั้วปอด หายใจหอบแรง ยาที่รักษาเป็นยาปฏิชีวนะ(antibiotic) จำพวก doxycycline,ampicillin amoxicillin และ orispecial ให้ยา 5-7 วันติดต่อกัน

3. โรคระบบทางเดินอาหาร

paratyphosis colibacillosis bacteria infections of the gastro-intestinal paratyphoid พาราไทฟอยด์ ที่ติดเชื้อโรค salomonellosis ที่เกิดจากเชื้อ typhimurium อาการที่พบ ข้อเท้าบวม ปีกบวม ปีกจะยึดบินไม่ค่อยได้ นกจะเดินโขยกเขยก อุจจาระเป็นสีเขียว ยาที่รักษามีหลายตัว เช่น ampicillin+furazolidone หรือ chloramphenical+furazolidone แต่ตัวยา chloramphenical และ furazolidone เป็นสารตกค้างที่สำคัญ ซึ่งทางการสั่งห้ามนำเข้า ตัวยาที่หาง่ายกว่ายาจำพวกนี้คือ trimethoprin และ parastop โดยใช้ยาต่อเนื่อง 10-14 วัน

4. โรคพยาธิ
นก ทุกชนิดมีพยาธิทุกตัว สืบเนื่องมาจากการกิน นกกินอาหารธัญพืชต่างๆที่เกิดจากพื้นดิน ไข่พยาธิจึงติดมาจากเมล็ดพืชธัญพืช ยิ่งธัญพืชที่นำมาเป็นอาหารนกไม่ได้ผ่านกรรมวิธีทำความสะอาดเมื่อนกกินเมล็ด พืชเข้าไปจึงเกิดตัวอ่อนพยาธิในลำไส้ พยาธิที่พบมีทุกชนิด ตัวแบน ตัวกลม เส้นด้าย ตัวเข็ม แส้ม้า ใช้ยาตัวเดียวกันได้ พยาธิตัวแบน พยาธิในตับก็เป็นตัวยาคนละตัวกัน การใช้ยาต้องศึกษาให้ดีใช้ยาเกินขนาดนกอาจตายได้ ตัวยาบางตัวนกไม่ควรใช้เพราะไปอุดทางเดินกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงที่ขนและปีก ไม่พอ ทำให้ขนนก ขนปีกหางกุดและหลุดได้ ยาที่ควรเลี่ยงใช้เป็นยาจำพวก mebendozole albendazole การใช้ยาถ่ายพยาธิในตัวนกต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ อ่านสรรพคุณของตัวยา และขนาดการให้เข้าใจเสียก่อนจึงใช้ยาถ่ายพยาธิ ถ้าให้เกินขนาดจะทำให้นกมีอาการเมา บางตัวที่อ่อนแอก็จะช็อคตายได้ตัวยาpiperazinehydrate และ pyrantel เหมาะสำหรับพยาธิตัวเข็ม เส้นด้าย และตัวกลม ตัวยา praziquantel เหมาะสำหรับพยาธิในตับ ตัวยา mebendazole เหมาะสำหรับพยาธิตัวเข็ม ตัวขอ เส้นด้าย แส้ม้า

5. โรคมัยโคพลาสโมซิส หรือ โรคติดเชื้อมัยโคพลาสม่าในนก (Mycoplasmosis)
โรคติดเชื้อ มัยโคพลาสมา กัลลิเซพติกุม หรือ โรคติดเชื้อเอ็มจี
โรคติดเชื้อเอ็มจี มีหลายชื่อที่รู้จักกัน คือ โรคติดต่อทางเดินหายใจเรื้อรังของนก หรือ โรคซีอาร์ดี หากนกติดเชื้อเอ็มจีเข้าไปอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 สัปดาห์ นกตัวนั้นจึงจะแสดงอาการป่วย และนกป่วยมักไม่ตาย
สาเหตุของโรคติดเชื้อเรื้อรังเอ็มจี คือ มัยโคพลาสมา กัลลิเซพติกุม เชื
้อนี้ถูกทำลายได้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทั่วไป สัตว์ปีกชนิดอื่น สามารถพบเชื้อเอ็มจีได้ เช่น ไก่ฟ้า นกยูง นกกระทา เป็ด และห่าน เป็นต้น นอกจากนี้ในต่างประเทศมีรายงานว่า พบเชื้อเอ็มจีจากตระกูลนกแก้ว หรือ นกกระจอกบ้าน โรคนี้ไม่ทำให้คนป่วย แต่คนจะเป็นตัวนำเชื้อโรคเข้าฟาร์มได้ หากไม่มีการทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อที่ดีพอ
การติดต่อของโรค
1. การติดต่อด้วยวิธีการแพร่เชื้อจากนกที่ติดเชื้อสู่นกปกติ โดยแพร่เชื้อไปกับการไอหรือจาม น้ำมูก หรือน้ำตา หรือเชื้อไปกับพาหะ เช่น คนเลี้ยงหรือผู้ที่เข้าฟาร์มที่ติดเชื้อ โดยเชื้อเอ็มจีจะติดไปตามเสื้อผ้า หรือเส้นผม หรือรองเท้า เป็นต้น
2. การติดต่อผ่านไข่จากแม่สู่ลูก หากนำไข่ฟองที่มีเชื้อเอ็มจีไปฟัก มีโอกาสที่ตัวอ่อนจะตาย หากลูกนกที่ฟักออกมารอดชีวิตจะพบเชื้อเอ็มจีในร่างกาย ทำให้ลูกนกอ่อนแอไม่แข็งแรง
อาการของโรค
นกที่ป่วยจะแสดงอาการหายใจเสียงดัง มีน้ำมูก ไอ กินอาหารลดลง น้ำหนักลด ไข่ลด หน้าบวม หนังตาบวม ตาแฉะ อัตราการป่วยสูง อัตราการตายขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และขึ้นกับว่า มีการติดเชื้ออื่นแทรกซ้อนร่วมด้วยหรือไม่
ภูมิคุ้มกันโรค
1. นกที่หายป่วยจะมีภูมิคุ้มกันโรค แต่ยังคงเป็นตัวอมโรคและสามารถแพร่เชื้อเอ็มจีไปสู่นกตัวอื่นได
2. การป้องกันการติดเชื้อเอ็มจีเข้าสู่ตัวนก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันในเลือดที่ตรวจพบ คือ การที่พบระดับภูมิคุ้มกันสูง ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอ็มจีได้ แต่การป้องกันการติดเชื้อเอ็มจีเข้าสู่ร่างกายนกที่ได้ผลนั้น ต้องอาศัยภูมิคุ้มกันที่พบในท่อทางเดินหายใจของนก
3. ระดับภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่ สามารถลดจำนวนหรือความรุนแรงของเชื้อที่ผ่านไข่ได้ และอาจเพิ่มการรอดชีวิตของลูกนกที่ติดเชื้อ
การควบคุมป้องกันและรักษาโรค
“การจัดการฟาร์ม”
1. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคให้ดีที่สุด เพื่อให้ฟาร์มปลอดจากเชื้อเอ็มจ
2. ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ เนื่องจากเชื้อเอ็มจีแพร่ผ่านไข่ได้ ดังนั้น ต้องมีโปรแกรมควบคุมป้องกันโรคให้นกพ่อแม่พันธุ์ให้ปลอดจากเชื้อเอ็มจี
3. ถ้าเป็นไปได้ ควรเลี้ยงนกในฟาร์มให้มีอายุเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
การรักษาโรค
1. เชื้อเอ็มจีมีความไวต่อยาปฎิชีวนะหลายชนิด ได้แก่ กลุ่มแมคโคลีด (macrolides) และกลุ่มข้างเคียง เช่น ลินโคซามีด (lincosamides) เตตร้าซัยคลิน (tetracyclines) ฟลูโอโรควิโนโลน (fluoroquinoloes)
2. ยาปฎิชีวนะที่ได้ผล สามารถรักษาโรคติดเชื้อเอ็มจีของทางเดินหายใจ และช่วยลดปัญหาไข่ลด และการแพร่เชื้อผ่านไข่และอาจช่วยลดอาการป่วย รอยโรค และจำนวนเชื้อเอ็มจีของทางเดินหายใจ
3. ยาปฎิชีวนะที่ใช้รักษา ได้แก่ ยาอ๊อกซี่เตตร้าซัยคลิน หรือ คลอร์เตตร้าซัยคลิน ในการผสมอาหาร ไทโลซิน ไทอามูอิน สเตรปโตมัยซิน ไดโฮโดรสเตรปโตมัยซิน อีริโทมัยซิน สไปรามัยซิน ฟลูโอโรควิโนโลน และทิลมิโคซิน เป็นต้น
ในอาหาร ผสมยาในน้ำ หรือจับฉีดเป็นรายตัว ทั้งนี้ไทอามูลินต้องระวังการใช้ร่วมกับยากันบิดโมเนนซิน นาราซิน และซาลิโนมัยซิน แต่ใช้ร่วมกับลาซาโลซิดได้
เอกสารอ้างอิง
โรคมัยโคพลาสโมซิส ใน : โรคทางเดินหายใจที่สำคัญของสัตว์ปีกที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและมัยโคพลาสมา
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





ทั้ง 5 โรคนี้ถ้าผู้เลี้ยงนกให้ความสำคัญและระมัดระวังคอยดูแลสุขภาพนกตลอดเวลา โรคภัยไข้เจ็บก็จะไม่มีโอกาสมาเยือน ผู้เลี้ยงนกต้องให้ความสำคัญเรื่องความสะอาดของโรงเรือน ไม่อับชื้น อากาศถ่ายเทดี อาหารต้องสะอาด สดใหม่ มีคุณค่าครบถ้วน สุขภาพนกก็จะแข็งแรง


----------------------------------------------------


สนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการติดต่อ
เข้าเยี่ยมชมฟาร์มนกมาตราฐานได้ที่...
ไชยรัตน์ เบิร์ดฟาร์ม
ธงชัย พลเยี่ยม โทร 081-4076591,087-5552545
Line official : @chairatbirdfarm
Line ID : 0875552545